วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ (Natural Unfoldment)


                  ทิศนา แขมมณี, http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple intelligence.htm และ http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm ได้รวบรวมไว้ว่า

                  เพสตาลอสซี มีความเชื่อว่า คนมีธรรมชาติปนกันใน 3 ลักษณะ คือคนสัตว์ ซึ่งมีลักษณะเปิดเผยเป็นทาสของกิเลส คนสังคม มีลักษณะที่จะเข้ากับสังคมคล้อยตามสังคม และ คนธรรม ซึ่งมีลักษณะของการรู้จักรับผิดชอบชั่วดี คนจะต้องมีการพัฒนาใน 3 ลักษณะดังกล่าว

                  ฟรอเบล เชื่อว่า การเล่นเป็นการเรียนรู้ที่สำคัญของเด็ก และควรจะให้การศึกษาชั้นอนุบาลแก่เด็กเล็กอายุ3-5 ขวบ โดยให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง

                  รุสโซมีความเชื่อว่าธรรมชาติคือแหล่งความรู้สำคัญ เด็กควรจะได้เรียนรู้ไปตามธรรมชาติคือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางธรรมชาติ จากผลของการกระทำของตน มิใช่การรเยนจากหนังสือหรือจากคำพูดบรรยาย

                  สรุป

                  ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการพัฒนาไปตามธรรมชาติ  เป็นการให้เด็กเกิดการเรียนรู้เองตามธรรมชาติโดยเรียนรู้จากการสัมผัส การกระทำ การพูด  และจัดให้เด็กได้เรียนในระดับชั้นอนุบาล  ซึ่งเด็กจะเกิดประสบการณ์โดยตรงที่จะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาอย่างเป็นลำดับขั้น

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.


วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง (Mental Discipline)

 (http://surinx.blogspot.com/) เขียนไว้ว่า
 Bigge, 1964: 19-30 กล่าวไว้ว่า จิตหรือสมองหรือปัญญา สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อซึ่งจะแข็งแรงได้ด้วยการฝึกออกกำลังกาย ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น
ณัชชากัญญ์ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวไว้ว่า จิตหรือสมองหรือสติปัญญา (mind) สามารถพัฒนาให้ปราดเปรื่องได้โดยการฝึก ในการฝึกจิตหรือสมองนี้ทำได้โดยให้บุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากๆ ยิ่งยากมากเท่าไร จิตก็จะได้รับการฝึกให้แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น หลักการในการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้เน้นการพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการกระตุ้นความรู้ในตัวผู้เรียนให้แสดงออกมา
ทิศนา แขมมณี (2550: 45 - 50) กล่าวไว้ว่า
1.มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความชั่วและการกระทำใด ๆ ของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวมนุษย์เอง (bad-active)
                2.มนุษย์พร้อที่จะทำความชั่วหากไม่ได้รับการสั่งสอนอบรม
                3.สมองของมนุษย์นั้นแบ่งออกเป็นส่วน ๆ (faculties) ซึ่งหากได้รับการฝึกอย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้เกิดความเข้มแข็ง สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้
                4.การฝึกสมองหรือฝึกระเบียบวินัยของจิตเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาให้มนุษย์เป็นคนดีและฉลาด
                5.การฝึกฝนสมองให้รู้จักคิด ต้องใช้วิชาที่ยาก เช่นวิชาคณิตศาสตร์ ปรัชญา ภาษาลาติน ภาษากรีกและคัมภีร์ใบเบิล เป็นต้น
สรุป
ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการฝึกจิตหรือสมอง  เป็นกลุ่มที่พูดถึงจิต สมอง และสติปัญญาของบุคคลว่ามีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถที่ฝึกและพัฒนาให้ปราดเปรื่องขึ้นได้ หากบุคคลได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนเป็นอย่างดี และเมื่อบุคคลเรียนรู้สิ่งที่ยากมากขึ้นเท่าไร จิตและสมองก็จะแข็งแกร่งมากขึ้นเท่านั้น
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486. 20 มิถุนายน 2554
http://surinx.blogspot.com/. 20 มิถุนายน2554