วันพุธที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นายอนุวัฒน์  วงษ์คลัง 
ชื่อเล่น เอ็ม
จบการศึกษาจาก โรงเรียนคุรุประชาสรรค์
ภูมิลำเนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ปัจจุบันกำลังศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
สีที่ชอบ : แดง เหลือง น้ำเงิน และเขียว
อาหารที่ชอบ : อาหารรสจืด เช่น แกงจืด ข้าวมันไก่ ข้าวผัด ฯลฯ
กีฬาที่ชอบ : แบดมินตัน และเปตอง
งานอดิเรก : ปลูกต้นไม้ เลี้ยงปลา ดูการ์ตูน เล่นเกมส์ และฟังเพลง
VDO แนะนำตัว : http://www.youtube.com/watch?v=LrRABx0Lggg&feature=youtu.be

วันพุธที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ไอซีทีเซ็นซื้อสั่งแท็บเล็ตเฟส 2 อีก 4 แสนเครื่อง

ไอซีที เดินหน้าสั่งซื้อแท็บเล็ตเพิ่มเฟส 2 อีก 403,941 เครื่องมูลค่ารวม 1,054 ล้านบาท คาดได้ครบทั้งหมด 803,941 เครื่องปลาย ก.ย.นี้ เบื้องต้นเตรียมจัดส่งให้สพฐ.จำนวน 50,000 เครื่องก่อนภายใน22 ส.ค.นี้  

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยภายหลังลงนามจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา(แท็บเล็ต)เพิ่มเติม ระยะที่ 2 ภายใต้โครงการจัดหาแท็บเล็ตเด็กป.1 หรือโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์พกพา (One Tablet PC Per Child) กับบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคป ไซแอนทิฟิก ดีเวลลอปเมนต์ อีกจำนวน 403,941 เครื่องในราคาเครื่องละ 82 เหรียญสหรัฐ หรือมูลค่ารวมประมาณ 1,054 ล้านบาท โดยบริษัท สโคป ต้องทำเรื่องเอกสารยืนยันของธนาคาร(แบงค์การันตี) 5% ของมูลค่าทั้งหมดกับธนาคารแห่งประเทศจีนหรือแบงค์ออฟไชน่าเช่นเดียวกับในเฟสแรก
ทั้งนี้ความคืบหน้าแท็บเล็ตระยะแรก 400,000 เครื่องที่ลงนามไปเมื่อวันที่ 10 พ.ค.55 ที่ผ่านมีกำหนดระยะเวลาจัดส่งไปให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการภายในวันที่ 22 ส.ค. โดยแท็บเล็ตในเฟสแรกจะส่งมาถึงไทยครบวันที่ 18 ส.ค. โดยในตอนนี้มีเครื่องจัดส่งมาแล้วจำนวน 61,000 เครื่อง โดยจำนวนดังกล่าวอยู่ระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบจำนวน 50,000 เครื่องในวันที่ 10 ก.ค.ก่อนจะจัดส่งไปให้กระทรวงศึกษาธิการเพื่อดำเนินการแจกจ่ายไปตามโรงเรียนทั่วประเทศต่อไป โดยคาดว่าจะได้เครื่องแท็บเล็ตครบทั้ง 2 เฟส จำนวน 803,941 เครื่องภายในปลายเดือนก.ย.นี้
สำหรับสาเหตุที่ระยะแรกจัดส่งล่าช้าเนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบแท็บ เล็ต2,000เครื่องแรกต้องใช้เวลานานในการตรวจสอบทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ อาทิ ระบบปฏิบัติการ แอปพลิเคชั่น คอนเทนต์ต่างๆ
นอกจากนี้กระทรวงไอซีทีอาจจะมีการลงนามสัญญาจัดซื้อแท็บเล็ตอีกในระยะที่ 3 ก็เป็นไปได้ เนื่องจากในตอนนี้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรืออปท.ยังไม่ได้แจ้งความต้อง การมายังกระทรวง ซึ่งคาดว่ามีความต้องการอีกประมาณ 50,000เครื่อง ซึ่งหากแจ้งความจำนงมากระทรวงไอซีทีก็จะต้องสั่งซื้อแท็บเล็ตเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต้องรอให้โอนเงินมาให้กระทรวงไอซีทีด้วย โดยไม่จำเป็นต้องเสนอเรื่องเข้าครม.แต่อย่างใดเนื่องจากยังอยู่กรอบของโครงการจำนวน1ล้านเครื่อง
สำหรับเรื่องศูนย์ให้บริการหรือศูนย์เซอร์วิสเซ็นเตอร์นั้นเบื้องต้นคาดว่าจะมีทั้ง หมด 30 ศูนย์แบ่งเป็นในกทม.1แห่งและอีก29แห่งอยู่ใน 76 จังหวัดซึ่งอยู่ระหว่างคัดเลือกของบริษัท เสิ่นเจิ้นฯ
ในส่วนของคุณสมบัติของเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต) ของบริษัท เสิ่นเจิ้น สโคปฯ นั้นเป็นหน้าจอแบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว มีหน่วยบันทึกข้อมูล 8 GB มีหน่วยประมวลผลกลางมีความเร็วสัญญาณนาฬิกา (Clock speed) 1.2 GHz มีหน่วยความจำหลัก (RAM) จำนวน 1 GB ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.0 แบบ Ice Cream Sandwich และใช้แบตเตอรี่ชนิด Lithium Polymer ขนาดความจุ 3600 mAh มีการรับประกันเป็นระยะเวลา 2 ปี

เทคโนโลยีเว็บ 2.0 เรื่อง RSS

RSS
ปัจจุบันวิถีทางในการใช้อินเทอร์เน็ตของชาวไซเบอร์เปลี่ยนไปจากเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมามากเมื่อก่อนเรารู้จักที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อส่งอีเมล์ คุยกับเพื่อนด้วยแชตรูม หรือใช้โปรแกรมคุยบางครั้งอาจมีการดาวน์โหลดโปรแกรมใหม่  การหาข้อมูล การแลกเปลี่ยนความเห็นที่เว็บบอร์ดการอ่านข่าว ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือการใช้งานหลักๆ ที่เราใช้งาน
ปัจจุบันเราใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อเขียนบล็อก การแชร์รูป ร่วมเขียน Wiki การโพสต์ความเห็นลงในท้ายข่าว การหาแหล่งข้อมูลด้วย RSS เพื่อ Feed มาอ่านที่หน้าจอ และGoogle จะเห็นได้ว่าวิธีการใช้ชีวิตบนอินเทอร์เน็ตของชาวออนไลน์เริ่มเปลี่ยนไปแล้ว
พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตดังกล่าวสะท้อนการเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่มาของเว็บ 2.0 หรือยุคใหม่ของ อินเทอร์เน็ตที่ได้เปลี่ยนการใช้งานของเราไปอย่างสิ้นเชิง เครื่องมือและเว็บไซต์ที่จะช่วยส่งเสริมความเป็น Web 2.0 ให้แก่เว็บไซต์ของเรา แม้ว่าเครื่องมือบางตัวจะไม่ถือว่าเป็น Web 2.0 แต่เครื่องมือต่างๆ เหล่านั้น ก็เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี Web 2.0 เป็นส่วนช่วยทำให้เว็บไซต์ทำให้เว็บไซต์มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้มากขึ้น ส่งเสริมให้เกิดเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขึ้นมา
ปัจจุบัน RSS ถูกนำมาประยุกต์ใช้เป็นรูปแบบกลางในการบริหารข้อมูลทางธุรกิจ และมีการแข่งขันกันสูง โดยเฉพาะธุรกิจที่มี การแชร์ข้อมูล เช่น เว็บไซต์ข่าว เว็บล็อก ซึ่งจะมีการแสดงข้อมูลบนหน้าต่างพรีวิวแยกต่างหาก เพื่อให้ผู้ใช้ไม่สับสน รวมถึง สามารถสืบค้นข้อมูลได้
RSS ย่อมาจาก Really Simple Syndication คือ บริการที่อยู่บนระบบ อินเตอร์เน็ท จัดทำข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปแบบ XML เพื่ออำนวยความสะดวกให้ กับผู้ใช้ โดยส่งข่าวหรือข้อมูลใหม่ๆ ให้ถึงเครื่องตลอดเวลาที่มีการ Updateไม่ต้อง เสียเวลาเปิดเว็บไซต์เข้ามาค้นหา
ข้อดีของ RSS
RSS ช่วยลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะกรณีการละเมิด ลิขสิทธิ์ขณะที่ผู้สร้างไม่ต้องเสียเวลาทำหน้าเพจแสดงข่าว ซึ่งต้องทำทุกครั้งเมื่อ ต้องการเพิ่มข่าว โดย RSS จะดึงข่าวมาอัตโนมัติ ทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์เป็น ศูนย์กลางมากขึ้น
จุดเด่นของ RSS คือ ผู้ใช้จะไม่จำเป็นต้องเข้าไปตามเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อดูว่ามีข้อมูล อัพเดทใหม่หรือไม่ ขณะที่เว็บไซต์แต่ละแห่งอาจมีระยะความถี่ในการอัพเดท ไม่เท่ากัน บางครั้งผู้ใช้ยังอาจหลงลืมจนเข้าไปดูเนื้อหาอัพเดทใหม่บนเว็บไซต์ ไม่ครบถ้วน รูปแบบ RSS จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถรับข่าวสารอัพเดทใหม่ได้ โดยไม่ต้องเข้าไปดูทุกครั้งให้เสียเวลา ซึ่งจะได้ประโยชน์ทั้งฝ่ายผู้บริโภคและ ฝ่ายเจ้าของเว็บไซต์
อ้างอิง