วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)

            ณัชชากัญญ์   วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 (sensation) และความรู้สึก (feeling) คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัส การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
            จอห์น ล็อค ทิชเชเนอร์ และแอร์บาร์ต(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) กล่าวไว้ว่า มนุษย์นั้นเกิดมาไม่มีทั้งความดีความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม มนุษย์เราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคลมีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทาง จึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ได้ดี
            (http://www.wijai48.com) กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และความรู้สึก คือ การตีความหรือแปลความหมายจากการสัมผัสการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึง เน้นให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
            สรุป
            ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด เป็นทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองและความคิดของบุคคลเมื่อเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ก็จะเกิดการจินตนาการจนเกิดเป็นความคิดเชื่อมโยง และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
            เอกสารอ้างอิง
            ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2554.
จาก: http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486
http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7. การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. ทฤษฎีการเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2554.
            http://www.wijai48.com. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2554.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น