วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism)


                ทิศนา แขมมณี กล่าวไว้ว่า

Gagne and Briggs (1974:121-136) ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย กล่าวไว้ว่า การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้

1.การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้

2.การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณเพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้

3.การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว

4.การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา

5.การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆโดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ

6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกัน

7.การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไปและตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น

8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาโดยยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้นี้เป็นกระบวนการที่เกิดภายในตัวผู้เรียน

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง บางประเภทมีความซับซ้อนมากกานเย (Gagne’s eclecticism) จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด ขั้น ดังนี้ 

ขั้นที่  สร้างความสนใจ (Gaining attention) 

ขั้นที่  แจ้งจุดประสงค์ (Informing the learning) 

ขั้นที่  3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น (Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 

ขั้นที่  เสนอบทเรียนใหม่ (Presenting the stimulus) 

ขั้นที่  ให้แนวทางการเรียนรู้ (Providing learning guidance) 

ขั้นที่  ให้ลงมือปฏิบัติ (Eliciting the performance) 

ขั้นที่  ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) 

ขั้นที่  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ (Assessing the performance) 

ขั้นที่  9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Enhancing retention and transfer)

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Gagne (อ้างในปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ 2543: 86-88) ได้ผสมผสานทฤษฎีพฤติกรรมนิยมกับทฤษฏีความรู้ความเข้าใจ แล้วสรุปเป็น 8 ขั้นตอนในการเรียนรู้

1. การเรียนรู้สัญญาณ (Sign  Learning) เป็นการเรียนรู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุด  เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ  เช่น  จกการทดลองการหลั่งน้ำลายของสุนัข  เมื่อสุนัขได้ยินเสียงกระดิ่ง  ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีเงื่อนไขของ  Pavlov  การเรียนรู้สัญญาณเป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นจากชีวิตประจำวันของเรา  ได้แก่  การกระพริบตา  เมื่อมีของมากระทบตาเรา

2. การเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง  (Stimulus Response Learning) เป็นการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายต่อสิ่งเร้า เป็นการเน้นข้อต่อระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองโดยผู้เรียนเป็นผู้กระทำเอง เช่น การทดลองจิกแป้นสีของนกพิราบจากการทดลองของ Skinner

3.การเรียนรู้การเชื่อมโยง (Chaining)   เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองติดต่อกับเป็นการเรียนรู้ในด้านทักษะ เช่น การเขียน การอ่าน การพิมพ์ดีด และการเล่นดนตรี เป็นต้น

4.การเชื่อมโยงทางภาษา  (Verbal Association) เป็นการเชื่อมโยงความหมายทางภาษาโดยออกมาเป็นคำพูด แล้วจึงใช้ตัวอักษร เช่น การเรียนการใช้ภาษา รวมทั้งการเขียนตัวอักษรด้วย

5.การแยกประเภท (Multiple Discrimination Learning) เป็นความสามารถในการแยกสิ่งเร้าและการตอบสนอง ผู้เรียนเห็นความแตกต่างของสิ่งของประเภทเดียวกัน เป็นการจำแนกความแตกต่างด้านทักษะและภาษา สามารถแยกลักษณะของลายเส้นจากหมึกได้

6.การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (Concept Learning) เป็นความสามารถที่ผู้เรียนมองเห็นลักษณะร่วมของสิ่งต่างๆ เช่น เมื่อนึกถึงวิทยุก็นึกถึงความถี่ของเสียง การใช้ไฟฟ้าและแบตเตอรี่การรับฟังข่าวสารบันเทิงได้

7.การเรียนรู้หลักการ (Principle Learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการนำความคิดรวบยอดสองความคิดหรือมากกว่านั้นมาสัมพันธ์กัน แล้วสรุปตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เช่น ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน

8.การเรียนรู้การแก้ปัญหา  (Problem - Solving) การเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากที่ผู้เรียนนำหลักการที่มีประสบการณ์มาก่อนมาใช้ในการแก้ปัญหา เป็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมและปัญหา เช่น ไฟฟ้าเป็นสื่อนำความร้อน เราก็นำไฟฟ้ามาใช้หุงต้มได้

บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com/) กล่าวว่า ทฤษฎีการเรียนรู้ของกานเย (Gagne)

1) ประเภทการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอน ง่ายไปหายาก 8 ประเภท

- การเรียนรู้สัญญาณ

- การเรียนรู้สิ่งเร้า การตอบสนอง

- การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง

- การเชื่อมโยงทางภาษา

- การเรียนรู้ความแตกต่าง

- การเรียนรู้ความคิดรวบยอม

- การเรียนรู้กฎ

- การเรียนรู้การแก้ปัญหา

2) การเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ไว้ 5 ประการ

- สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง

- ทักษะเชาว์ปัญญา

- ยุทธศาสตร์ในการคิด

- ทักษะการเคลื่อนไหว

- เจตคติ

สรุป

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย เป็นการผสมผสานทฤษฎีหลายๆทฤษฎีเข้าด้วยกันกับทฤษฎีของกานเย โดยแนวคิดของกานเย คือ การจัดการเรียนรู้แบบเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆไปสู่เรื่องที่ยากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยาก

เอกสารอ้างอิง

ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศน.หลักสูตรและการสอน.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554.จาก: http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7

บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52.จิตวิทยาการศึกษา.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554.จาก: http://dontong52.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น