วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สื่อการสอน (Teaching)

                กิดานันท์ มลิทอง (2549: 100) ได้ให้ความหมายคำว่า สื่อ (medium, pl.media) เป็นคำมาจากภาษาลาตินว่า ระหว่าง (between) สิ่งใดข้อตามที่บรรจุข้อมูลสารสนเทศหรือเป็นตัวกลางข้อมูลส่งผ่านจากผู้ส่งหรือแหล่งส่งไปยังผู้รับเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
วาสนา ชาวหา ได้รวบรวมความหมายของ สื่อการสอนที่นักเทคโนโลยีหลายท่านได้ให้ไว้ดังนี้
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือเป็นช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดหมายที่ครูว่างไว้ได้เป็นอย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงค์ ได้ให้ทัศนะว่า สื่อการสอน หมายถึง วัสดุ (สิ่งสิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ผุพังได้ง่าย) และวิธีการ (กิจกรรม ละคร เกม การทดลอง) ที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อธิพร ศรียมก กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึงอะไรก็ได้ (ที่ไม่ใช่ครูพูดปากเปล่าเพียงอย่างเดียว)ที่ทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างน่าสนใจ สนุกตื่นเต้น และทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอน
(http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=5&group_id=23&article_id=194) ได้ให้ความหมายของสื่อการเรียนการสอนไว้ว่า
สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมี หน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม สื่อการสอนได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนตลอด และยังได้รับการพัฒนาไปตาการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง นักการศึกษาเรียกชื่อการสอนด้วยชื่อต่างๆ เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนูปกรณ์ เทคโนโลยีการศึกษา สื่อการเรียนการสอน สื่อการศึกษาเป็นต้น
(http://pineapple-eyes.snru.ac.th/stm/index.php?q=node/10) ได้รวบรวมความหมายของสื่อการสอนที่นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ว่า
นักวิชาการในวงการเทคโนโลยีทางการศึกษา โสตทัศนศึกษา และวงการการศึกษาได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอนไว้อย่างหลากหลาย เช่น
ชอร์ส กล่าวว่า เครื่องมือที่ช่วยสื่อความหมายจัดขึ้นโดยครูและนักเรียนเพื่อส่งเสริมการ เรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดจัดเป็นสื่อการสอน เช่นหนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ สไลด์ ฟิล์มสตริป รูปภาพแผนที่ ของจริง และทรัพยากรจากแหล่งชุมชน
บราวน์ และคณะกล่าวว่าจำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถช่วยเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะแต่สิ่งที่เป็นวัตถุหรือเครื่องมือเท่านั้นเช่น การศึกษานอกสถานที่ การแสดง บทบาทนาฏการ การสาธิต การทดลองตลอดจนการสัมภาษณ์และการสำรวจ เป็นต้น
เปรื่อง กุมุท กล่าวว่าสื่อการสอน หมายถึงสิ่งต่าง ๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียนและทำ ให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่ครูวางไว้ได้เป็น อย่างดี
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ให้ความหมาย สื่อการสอนว่าวัสดุอุปกรณ์และวิธีการประกอบการสอนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการ สื่อความหมายที่ผู้สอนประสงค์จะส่งหรือถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
สรุป
สื่อการสอน หมายถึง อุปกรณ์หรือสิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลาง หรือพาหนะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิ
กิดานันท์ มลิทอง.เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม.(2543):ห.จ.ก อรุณการพิมพ์พิมพ์ครั้งที่ 2
วาสนา ชาวหา (2533). สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์. (หน้า 231)

ประเภทของสื่อการสอน
(www.dei.ac.th/ac/04.doc) กล่าวไว้ว่า
สื่อต่างๆที่เป็นตัวกลางในการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศจากผู้สอนไปยังผู้เรียน หรือเป็นสิ่งที่ผู้เรียนใช้ศึกษาความรู้ด้วยตนเอง นักวิชาการได้จำแนกสื่อการสอนตามประเภท ลักษณะและวิธีการใช้ดังนี้
เป็นสื่อที่นับได้ว่าเป็นจุดเริ่มของสื่อการเรียนการสอน โดยเป็นสื่อที่บรรจุหรือถ่ายทอดข้อมูลเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยการได้ยินเสียงและเห็นภาพ สื่อที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิม เช่น หนังสือตำราเรียน ภาพ ของจริง ของจำลอง จะเป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาในตัวเอง ต่อมามีการใช้เทคโนโลยีในการประดิษฐ์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการถ่ายทอดเนื้อหาและเนื้อหาและวัสดุที่ใช้กับอุปกรณ์เหล่านี้ โรเบิร์ต อี. เดอ คีฟเฟอร์ (Robert E. de Kieffer) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะที่ใช้สื่อความหมายทางเสียงและภาพรวมเรียกว่า สื่อโสตทัศน์ (audiovisual materials) ในปัจจุบันมีสื่อโสตเพิ่มขึ้นมากจากที่เดอ คีฟเฟอร์ ได้กล่าวไว้ทั้ง 3 ประเภท ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างสื่อใหม่รวมไปในแต่ละประเภทดังนี้
1. สื่อไม่ใช้เครื่องฉาย (nonprojected materials) เป็นสื่อที่ใช้การทางทัศนะโดยไม่ต้องใช้เครื่องฉายร่วมด้วย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่สื่อภาพ (illustrative materials) เป็นสื่อที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา เช่น ภาพกราฟิก กราฟ แผนที่ ของจริง ของจำลอง กระดานสาธิต (demonstration boards) ใช้ในการนำเสนอเนื้อหา เช่นกระดานชอล์ก กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก กระดานผ้าสำลี ฯลฯ และกิจกรรม(activites)
2. สื่อเครื่องฉาย (projected and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสารด้วยภาพหรือทั้งภาพทั้งเสียง อุปกรณ์มีทั้งแบบฉายตรงและฉายอ้อมเพื่อถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะอุปกรณ์นั้นเพื่อให้เป็นภาพปรากฏขึ้นบนจอเช่นเครื่องฉายข้ามศีรษะใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องฉายสไลด์ ใช้กับแผ่นฟิล์มสไลด์ หรือให้ทั้งภาพและเสียง เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ฟิล์ม เครื่องเล่นดีวีดีใช้กับวีซีดีและดีวีดี เหล่านี้เป็นต้น นอกจากนี้ยังอาจรวมเครื่องถ่ายทอดสัญญาณ คือ เครื่องแอลซีดีที่ใช้ถ่ายทอดสัญญาณจากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นวีซีดี เข้าไว้ในเครื่องด้วย เพื่อนำสัญญาณภาพจากอุปกรณ์เหล่านั้นขึ้นจอภาพ
3. สื่อเสียง (Audio materials and equipment) เป็นวัสดุและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการสื่อสารด้วยเสียง อุปกรณ์เครื่องเสียงจะใช้ถ่ายทอดเนื้อหาจากวัสดุแต่ละประเภทที่ใช้เฉพาะกับอุปกรณ์นั้นเพื่อเป็นเสียงให้ได้ยิน เช่น เครื่องเล่นซีดีใช้กับแผ่นซีดี เครื่องเล่น/บันทึกเทปใช้กับเทปเสียง หรืออาจเป็นอุปกรณ์ในการถ่ายทอดสัญญาณเสียงดังเช่นวิทยุที่รับสัญญาณเสียงจากแหล่งส่งโดยไม่ต้องใช้วัสดุใดๆในการนำเสนอเสียง
วาสนา ชาวหา กล่าวไว้ว่า สื่อการสอนแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้ 3 ประเภท คือ
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น สี กระดาน ชอล์ค ภาพ เปลือกหอย หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือสิ่งที่เป็นเครื่องมือ วิทยุ เครื่องฉายภาพวีดีโอ กระดานดำ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ จัดสถานการณ์จำลอง เช่น การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน
(http://kanok-orn.blogspot.com/2007/09/blog-post_11.html) ได้รวบรวมประเภทของสื่อการสอนไว้ดังนี้
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1.วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
2.วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3.โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1.ประเภทภาพประกอบการสอน (Picture Instructional Materials)
1.1ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprotected Pictures) ได้แก่ ภาพเขียน (Drawing) ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures) ภาพตัด (Cut-out Pictures) สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrap Books) ภาพถ่าย (Photographs) เป็นต้น
1.2ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures) ได้แก่ สไลด์ (Slides) ฟิล์มสตริป (Filmstrips) ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures) ภาพโปร่งแสง (Transparencies) ภาพยนตร์ 16 มม. 8 มม. (Motion Pictures) ภาพยนตร์ (Video Tape) เป็นต้น
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials) ได้แก่ แผนภูมิ (Charts) กราฟ (Graphs) แผนภาพ (Diagrams) โปสเตอร์ (Posters) การ์ตูน (Cartoons, Comic strips) รูปสเก็ช (Sketches) แผนที่ (Maps) ลูกโลก (Globe) เป็นต้น
3. ประเภทกระดานและแผ่นป้ายแสดง (Instructional Boards and Displays) ได้แก่ กระดานดำหรือกระดานชอล์ก (Blackboard, Chalk Board) กระดานผ้าสำลี (Flannel Boards) กระดานนิเทศ (Bulletin Boards) กระดานแม่เหล็ก (Magnetic Boards) กระดานไฟฟ้า (Electric Boards) เป็นต้น
4. ประเภทวัสดุสามมิติ (Three-Dimensional Materials) มีหุ่นจำลอง (Models) ของตัวอย่าง (Specimens) ของจริง (Objects) ของล้อแบบ (Mock-Ups) นิทรรศการ (Exhibits) ไดออรามา (Diorama) กระบะทราย (Sand Tables)
5. ประเภทโสตวัสดุ (Auditory Instructional Materials) มีแผ่นเสียง (Disc Recorded Materials)
เทปบันทึกเสียง (Tape Recorded Materials) รายการวิทยุ (Radio Program)
6. ประเภทกิจกรรมและการละเล่น (Instructional Activities and Plays) ได้แก่การทัศนาจรศึกษา (Field Trip) การสาธิต (Demonstrations) การทดลอง (Experiments) การแสดงแบบละคร (Drama)
การแสดงบทบาท (Role Playing) การแสดงหุ่น (Puppetry)
ข.ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1.เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2.เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3.เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4.เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5.เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6.เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7.เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8.เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9.เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10.จอฉายภาพ (Screen)
11.เครื่องรับวิทยุ (Radio Receive)
12.เครื่องขยายเสียง (Amplifier)
13.อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
สรุป
สื่อการสอนแบ่งออกตามลักษณะของการใช้ได้ 3 ประเภท คือ สื่อการสอนประเภทวัสดุ เช่น สี กระดาน ชอล์ค ภาพ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องมือ เครื่องฉายภาพวีดีโอ เป็นต้น สื่อการสอนประเภทวิธีการ กระบวนการจัดกิจกรรม ได้แก่ การสาธิต การทดลอง เล่นเกม เล่นบทบาทสมมุติ จัดสถานการณ์จำลอง เช่น การจัดมุมต่าง ๆ ในห้องเรียน
เอกสารอ้างอิ
วาสนา ชาวหา (2533). สื่อการสอน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โซเดียมสโตร์. (หน้า 231)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น